ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา

บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล

โดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชสีมา

 

ปณิธาน

มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของท้องถิ่นและยกระดับสู่ระดับประเทศและนานาชาติ

โดยยึดหลักธรรมาภิบาลเป็นที่ตั้ง

 

วิสัยทัศน์

  “ พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ”

 

การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง แนวทางแก้ไขของสถาบันวิจัยและพัฒนา   

สถาบันวิจัยและพัฒนา มีบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้มีความก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ และเป็นหน่วยงานสำคัญในการหนุนเสริมการพลิกโฉม และพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศตามกลุ่มยุทธศาสตร์ที่เลือกสังกัด คือ กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area based and community) ตามกรอบแผนพัฒนาความเป็นเลิศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) สถาบันวิจัยและพัฒนา จึงจำเป็นต้องมีนักบริหารจัดการงานวิจัย ที่มีศักยภาพในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการงานวิจัย และสามารถบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้น สร้างบรรยากาศในการทำงานให้คนทำงานอย่างมีความสุข มีเครือข่ายที่ดีทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย มีวิธีการในการกระตุ้นให้คนมุ่งมั่นในการทำงานและมีความรู้ความเข้าใจและทีมงานที่พร้อมที่จะชับเคลื่อนพันธกิจการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาชุมชชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

          ปัจจุบันระบบบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นไปตามพันธกิจที่ดำเนินการในระยะที่ผ่านมาแต่หากจะนำพามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นยังพบว่ามีช่องว่างของการพัฒนาที่จะต้องเติมเต็มจึงได้มีการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง และแนวทางแก้ไขของการบริหารจัดการงานวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและหนุนเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศได้ ดังนี้

จุดอ่อน

แนวทางแก้ไข (input)

ผลผลิต (output)

ผลลัพธ์/ผลกระทบ

 (outcome /impact)

1.กระบวนการให้คำปรึกษาแก่นักวิจัย ในด้านการเขียนขอทุนวิจัยที่หลากหลายศาสตร์หรือการบูรณาการข้ามศาสตร์ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับทุนวิจัยลดลงในทุกปี/การเข้าถึงแหล่งทุนวิจัยได้น้อย

1. จัดทำ work shop แบบเข้มก่อนมีการขอทุนวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนองานวิจัยที่มีศักยภาพที่สามารถรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆได้

2.มีการจัดเวทีให้คำปรึกษา Coaching แก่นักวิจัยตรงตามศาสตร์ในแต่ละด้านที่นักวิจัยเชี่ยวชาญ อย่างเป็นรูปธรรม

3. เชิญผู้เชี่ยวชาญวิทยากรจากหน่วยงานให้ทุน หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีหน้าที่ในการพิจารณาทุนวิจัยมาให้คำแนะนำกระบวนการพัฒนาให้ตรงตามความต้องการของแหล่งทุน

4.สร้างความเข้าใจให้บุคลากรเห็นความสำคัญของงานวิจัย เช่น 1 อาจารย์ 1 งานวิจัย

5. กระบวนการพัฒนานักวิจัยทั้งอาจารย์เจ้าหน้าที่ที่ไม่เคยได้รับทุนร่วมพัฒนาข้อเสนองานวิจัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเป็นการสร้างประวัติการรับทุนให้แก่นักวิจัยใหม่

 

 

 

 

 

1.นักวิจัยมีศักยภาพในการเขียนชุดโครงการบูรณาการข้ามศาสตร์/ข้ามหน่วยงาน

2.ได้กลุ่มนักวิจัย/งานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนา

3.นักวิจัย/มหาวิทยาลัยสามารถได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกเพิ่มขึ้น

1. ศักยภาพบุคลากรเพิ่มขึ้น การพัฒนาการศึกษา การเรียน การสอน เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน นักศึกษามีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน (เพราะอาจารย์ที่ทำวิจัยจะมีกรณีศึกษาที่เป็นเรื่องจริง ถ่ายทอดให้นักศึกษาฟัง)

2. นักวิจัยเป็นที่รู้จักมากขึ้นในแหล่งทุนของประเทศ

3.นักวิจัย/ผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

4.สร้างรายได้จากงานวิจัยเข้าสู่มหาวิทยาลัย

5.เกิดสังคมความสุข/คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของนักวิจัย(อาจารย์/เจ้าหน้าที่)

2.ผลงานตีพิมพ์ในระบบฐานข้อมูลมาตรฐานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

(ปัจจุบันแหล่งทุนภายนอกทุกประเภท กำหนดคุณสมบัติของนักวิจัยที่จะยื่นขอทุนวิจัย โดยดูจาก ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ที่มีมาตรฐานทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ และพิจารณาค่า H index (เป็นค่าที่คำนวณจากการ citation งานวิจัยของนักวิจัย)

 

1.กลยุทธ์ จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มนักวิจัยที่มีศักยภาพและทำเนียบนักวิจัยในองค์กร (NRRU Potential researcher and NRRU researcher member)

2.สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาบุคคลากรร่วมกับแหล่งทุนภายนอก เช่น ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ ทุนนักวิจัยรุ่นกลาง และเมธีวิจัยอาวุโส เป็นต้น

 

1.ได้ผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพในระดับชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (Thai citation index)

และระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI/SCOPUS

2.ได้ฐานข้อมูลงานวิจัยที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และเพิ่มค่า H-index ให้กับนักวิจัย ซึ่งดูจากฐานข้อมูลด้านการ citation ของงานวิจัย

พัฒนามหาวิทยาลัยตามการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเลือกกลุ่มมหาวิทยาลัยความเป็นเลิศด้านการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

3.การสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับหน่วยงานในพื้นที่/ชุมชน/ระดับชาติ/นานาชาติ

Research networking

สร้างเครือข่ายหน่วยงานความร่วมมือทั้งในระดับพื้นที่ ชุมชน ระดับชาติ และนานาชาติ (partnership networking)

งานวิจัยมีการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมวิจัยครบวงจร และเกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ

1.สถาบันวิจัยและพัฒนาศูนย์กลางผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมใช้

2.นักวิจัย/ผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

3.สร้างรายได้จากงานวิจัยเข้าสู่มหาวิทยาลัย

4.เกิดสังคมความสุข/คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของนักวิจัย(อาจารย์/เจ้าหน้าที่)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จุดแข็ง

 

แนวทางแก้ไข (input)

ผลผลิต (output)

ผลลัพธ์/ผลกระทบ (outcome/impact)

1. โครงสร้างองค์กร นักวิจัย และบุคลากรของสถาบันวิจัยและพัฒนา ที่มีความเข้มแข็ง  

 

หนุนเสริมศักยภาพการบริหารจัดการตามความสามารถเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

1.ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ศักยภาพการทำงานของบุคลากรเพิ่มขึ้น

2.ระบบบริหารจัดการงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพเอื้อต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม

1.นักวิจัย/ผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

2.สร้างรายได้จากงานวิจัยเข้าสู่มหาวิทยาลัย

3.เกิดสังคมความสุข/คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของนักวิจัย(อาจารย์/เจ้าหน้าที่)

2.บุคลากรอาจารย์ เจ้าหน้าที่ที่มีจำนวนมากและมีศักยภาพที่หลากหลายของมหาวิทยาลัย

จัดกระบวนการหนุนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการพัฒนาสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพทั้งอาจารย์เจ้าหน้าที่

1.ได้นักวิจัยหน้าใหม่ที่มีศักยภาพในการเขียนชุดโครงการบูรณาการข้ามศาสตร์/ข้ามหน่วยงานเพิ่มขึ้น

2.ได้กลุ่มนักวิจัย/งานวิจัยที่เป็นเลิศหลากหลายกลุ่มและตอบโจทย์การพัฒนา

3.อาจารย์/เจ้าหน้าที่สามารถพัฒนาเป็นนักวิจัยมืออาชีพได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกเพิ่มขึ้น

1.นักวิจัย/ผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

2.สร้างรายได้จากงานวิจัยเข้าสู่มหาวิทยาลัย

3.เกิดสังคมความสุข/คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของนักวิจัย(อาจารย์/เจ้าหน้าที่)

3.อยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์รวมของทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น และ ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์รวมถึงมีหน่วยงานราชการและสถานประกอบการที่สามารถให้ความร่วมมือในด้านงานวิจัย

ใช้แนวทางกลไกความร่วมมือแบบบูรณาการกับภาคีเครือข่าย และปัจจัยเอื้อหนุนในการสร้างงานวิจัยที่หลากหลาย

ได้ผลงานวิจัยที่บูรณาการข้ามศาสตร์/ข้ามหน่วยงาน/กระทรวงเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นทุกด้านตามความแผนพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ได้แก่ การผลิตและพัฒนาครู การพัฒนาเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย (Agriculture & Food) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม (Ecotourism) และการพัฒนาสุขภาวะชุมชนและผู้สูงอายุ (Health & Aging) และตามบริบทอื่นๆของมหาวิทยาลัย

1.นักวิจัย/ผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

2.สร้างรายได้จากงานวิจัยเข้าสู่มหาวิทยาลัย

3.เกิดสังคมความสุข/คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของนักวิจัย(อาจารย์/เจ้าหน้าที่)

4.หนุนเสริมการพัฒนาตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาอย่างเป็นรูปธรรม

 

แนวทางการพัฒนาขับเคลื่อนสถาบันวิจัยและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ

จากนโยบายการปฏิรูประบบการวิจัยชาติในระยะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการวิจัยงบประมาณแผ่นดินและการปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการแหล่งทุนวิจัย ประกอบกับเป้าหมายการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตามนโยบายสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นปี 2566-2570 โดยยึดตามการปรับปรุงยุทธศาสตร์อุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินการสร้างองค์ความรู้และร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน ในการดำเนินงาน

สถาบันวิจัยและพัฒนา ต้องทำงานแบบบูรณาการเชิงรุกเพื่อสร้างความร่วมมือบูรณาการจากนักวิจัยที่มีความรู้จากศาสตร์ที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อหล่อหลอมองค์ความรู้ให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่เห็นผลอย่างชัดเจนโดยการอาศัยความรู้พื้นฐานของนักวิจัยมาประยุกต์เพื่อให้สามารถบูรณาการสู่การพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่เป็นหลัก

โดยให้ความสำคัญกับงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ เป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่สามารถนำความรู้จากการวิจัยพื้นฐาน (Basic research) มาใช้สำหรับการวิจัยเชิงพื้นที่ (Area base) และเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research) ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการขับเคลื่อนงานวิจัยนี้ต้องเป็นผู้ที่มีวิธีคิดและวิสัยทัศน์ ที่เห็นคุณค่าของงานวิจัยเชิงพื้นที่และสามารถบูรณาการกับงานวิจัยพื้นฐานในศาสตร์ต่างๆ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้ และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกเพื่อสนับสนุนการทำงานที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมสามารถสร้างรายได้จากงานวิจัยเข้าสู่มหาวิทยาลัย ยกระดับคุณภาพชีวิตบุคลากร นักวิจัย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จากการดำเนินงานวิจัย

       

สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
340 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
โทรศัพท์ 044-009009 ต่อ 9460
โทรสาร 044-272941
E-mail : wijaikorat@nrru.ac.th

Copyright (c) Research and development Institute. All rights reserved.